
การเกิดอุบัติทางท้องถนน นอกจากความประมาทแล้ว ปัญหาด้านสุขภาพบางอย่างอาจส่งผลต่อความสามารถในการขับขี่ และทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ 9 กลุ่มโรคสุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ไม่ควรขับรถเด็ดขาด มีดังต่อไปนี้
1. โรคหัวใจอาจมีอาการแน่นหน้าอก เมื่อขับรถนานๆ เครียดจากรถติด
2. โรคลมชักเมื่อมีอาการชักจะเกร็ง และกระตุกไม่รู้สึกตัว
3. โรคเบาหวานทำให้มีอาการ หน้ามืด ใจสั่น สมาธิไม่ดี ตาพร่า ถ้าน้ำตาลในเลือดต่ำลง
4. โรคพาร์กินสันมีอาการแข็งเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น ทำอะไรช้าลง ทำให้ขับรถได้ไม่ดี
5. โรคที่เกี่ยวกับสายตาต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อมทำให้ขับรถในเวลากลางคืนแล้วมองไม่ชัด ส่วนคนเป็นต้อหินทำให้มุมสายตาแคบลง มองเห็นภาพส่วนรอบได้ไม่ดี และมองเห็นแสงไฟบอกทาง หรือไฟหน้ารถพร่าได้
6. โรคหลอดเลือดสมองทำให้แขนขาไม่มีแรงขับรถ เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรกหรือเปลี่ยนเกียร์ บางคนมีอาการเกร็งจนขากระตุกเวลาเหยียบคันเร่งหรือเบรก บางคนประสานงานแขนกับขาไม่ดี หรือสมองสั่งให้แขนขาทำงานไม่ได้ดีเหมือนเดิม ความไวของการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ลดลง
7. โรคทางสมองที่ยังเป็นไม่มากมีอาการหลงลืม ขับรถหลงทางในบางครั้ง การตัดสินใจช้าและสมาธิไม่ดี?
8. โรคไขข้อ ข้อเสื่อม ข้ออักเสบต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการขับรถ เช่น ข้อเข่าเสื่อม ทำให้เหยียบเบรกได้ไม่เต็มที่ ข้อเท้าอักเสบปวดจากโรคเก๊าต์ ทำให้ขยับลำบาก โรคกระดูกคอเสื่อม ทำให้ปวดคอ เอี้ยวคอดูการจราจรได้ลำบาก หรือมีอาการปวดหลังจากกระดูกหลังเสื่อม ทำให้นั่งขับรถได้ไม่นาน
9. การกินยาซึ่งบางคนกินยาหลายชนิด บางชนิดมีผลทำให้ง่วงซึมหรือง่วงนอน มึนงง สับสนได้เวลาขับรถ และทำให้การตัดสินใจ สมาธิ และความรวดเร็วในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ไม่ดีหลังกินยาแล้วควรพักผ่อนหรือวานให้คนข้างๆ ช่วยขับจะมีความปลอดภัยมากกว่า