แนวคิด Internet of Things หรือ IoT นั้นถูกคิดขึ้นโดย Kevin Ashton ในปี 1999 ซึ่งเขาเริ่มต้นโครงการ Auto-ID Center ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT จากเทคโนโลยี RFID ที่จะทำให้เป็นมาตรฐานระดับโลก สำหรับ RFID Sensors ต่างๆ ที่จะเชื่อมต่อกันได้ ต่อมาในยุคหลังปี 2000 โลกมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นจำนวนมาก และมีการใช้คำว่า Smart ซึ่งในที่นี้คือ smart device, smart grid, smart home, smart network, smart intelligent transportation ต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตได้
ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเองก็เลยมาเป็นแนวคิดที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นก็ย่อมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเช่นกันโดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน นั่นแปลว่านอกจาก Smart devices ต่างๆ จะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้วมันยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นได้ด้วยโดย Kevin นิยามมันไว้ตอนนั้นว่าเป็น “internet-like” หรือพูดง่ายๆก็คืออุปกณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถสื่อสารพูดคุยกันเองได้ ซึ่งศัพท์คำว่า “Things” ก็แทนอุปกณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้นั่นเอง
นอกจากนี้ IoT จะเปลี่ยนรูปแบบและกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมไปสู่ยุคใหม่ หรือที่เรียกว่า Industry 4.0 ที่จะอาศัยการเชื่อมต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องจักร มนุษย์ และข้อมูล เพื่อเพิ่มอำนาจในการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความถูกต้องแม่นยำสูง โดยที่ข้อมูลทั้งหลายที่เก็บจากเซ็นเซอร์ที่ใช้ตรวจวัดตัวอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมจะถูกนำมาวิเคราะห์ ให้ได้ผลลัพธ์เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการผลิตได้อย่างทันที นอกจากการข้ามขีดจำกัดเรื่องเวลาแล้ว ระบบควบคุมหรือระบบวิเคราะห์ข้อมูล อาจไม่ได้อยู่ในที่เดียวกันกับเครื่องจักร แต่สามารถควบคุมสั่งการได้โดยไร้ขีดจำกัดเรื่องสถานที่
แล้ว IoT นำไปใช้กันไหนด้านไหนบ้าง
- Smart Home (บ้านอัจฉริยะ)
เป็นแนวคิดประยุกต์การใช้งานให้ที่อยู่อาศัยมีชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีมากขึ้น เป็นแนวคิด บ้านประหยัดพลังงาน เช่น ใช้การตรวจจับความสว่างภายในบ้านเปิด/ปิดไฟตามความเหมาะสมของแสง ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งทำให้บ้านเป็นบ้านที่น่าอยู่และช่วยในการรักษาพลังงานและให้ใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
- Wearable (อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ)
สำหรับคนที่นึกภาพไม่ออก ลองนึกถึงนาฬิกาเพื่อสุขภาพ ที่สามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือ วัดระดับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน แล้วมีการส่งข้อมูลขึ้นไปเก็บบน Server เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อที่จะนำมาวัดดัชนีมวลกาย วัดระดับไขมันและเพื่อให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้น
- Smart City (เมืองอัจฉริยะ)
ในตอนนี้การใช้งานนั้นเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นบ้างแล้ว เช่น ระบบควบคุมการจราจรเพื่อควบคุมให้แยกต่าง ๆ สามารถควบคุมสัญญาณไฟจราจรได้ โดยมีข้อมูลทั้งปริมาณรถยนต์ที่อยู่บนถนน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสั่งการควบคุมไฟจราจร รวมถึงการตรวจจับการเกิดอุบัติเหตุด้วย
- Smart Grid (โรงไฟฟ้าอัจฉริยะ)
โรงไฟฟ้าแต่ละแห่งล้วนแต่มีกำลังในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ปริมาณความต้องการในการใช้กระแสไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ระบบนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อวิเคราะห์และจัดการการทำงานของโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งให้สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสัมพันธ์กัน
- Connection Car (รถยนต์อัจฉริยะ)
ลองนึกถึงรถยนต์สองคันสามารถสื่อสารกันได้ สามารถตรวจจับอุบัติเหตุรวมถึงการแจ้งเตือนเมื่อเกิดการชนกัน นี่แหละครับ Connection Car - Smart farming (ฟาร์มอัจฉริยะ)
เป็นระบบเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถลดแรงงานและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบความเป็นอยู่ของสัตว์ ให้อาหารสัตว์ รวมถึงพืชผลที่ได้ปลูกไว้ การให้น้ำและปุ๋ยโดยผ่านการประมวลผลตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดค่าเอาไว้
นอกจากนี้ IoT จะเปลี่ยนรูปแบบและกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมไปสู่ยุคใหม่ หรือที่เรียกว่า Industry 4.0 ที่จะอาศัยการเชื่อมต่อสื่อสารและทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องจักร มนุษย์ และข้อมูล เพื่อเพิ่มอำนาจในการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความถูกต้องแม่นยำสูง โดยที่ข้อมูลทั้งหลายที่เก็บจากเซ็นเซอร์ที่ใช้ตรวจวัดตัวอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมจะถูกนำมาวิเคราะห์ ให้ได้ผลลัพธ์เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการผลิตได้อย่างทันที นอกจากการข้ามขีดจำกัดเรื่องเวลาแล้ว ระบบควบคุมหรือระบบวิเคราะห์ข้อมูล อาจไม่ได้อยู่ในที่เดียวกันกับเครื่องจักร แต่สามารถควบคุมสั่งการได้โดยไร้ขีดจำกัดเรื่องสถานที่
โลกยังคงพัฒนาและคิดค้นต่อไป เราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอยากให้ช่วยกัน พัฒนา ดูแลและรักษาสังคมให้น่าอยู่และดีขึ้นต่อไปนะครับ
ที่มา : https://www.zolkorn.com/article/knowledge/what-is-the-internet-of-things-iot-part-ii/ https://www.veedvil.com/news/internet-of-things-iot/ https://www.ar.co.th/kp/th/15